EXHIBITION
A Minor History
An exhibition by Apichatpong Weerasethakul
ประวัติศาสตร์กระจ้อยร่อย (A Minor History)
นิทรรศการโดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
ภัณฑารักษ์ กิตติมา จารีประสิทธิ์
ช่วงเวลาจัดแสดง 30 เมษายน - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
ณ ใหม่อีหลี ขอนแก่น
นิทรรศการโดยความร่วมมือกับ มูลนิธิ 100 ต้นสน กรุงเทพมหานคร
For Those Who Died Trying by British photographer Luke Duggleby looks to preserve the memory of those who lost their lives fighting for what was right. Tracing history back as far as 1973, he went in search of the families and friends of those who were killed across Thailand, requesting a portrait of that person and taking it to the exact location of the crime itself to take his photographs. In total, he has preserved the memory of 56 human rights defenders exhibited here as individual photographs.
The first substantial documentation of the use of violence towards rural community leaders comes between 1973 and 1976 when almost 50 leaders of the Farmers’ Federation of Thailand were documented as being killed or injured. More recently, research by Human Rights NGO Protection International has documented over 70 cases of extrajudicial killings and forced disappearances in Thailand of Women/Human Rights Defenders in the past 30 years.
It is vital, for the victims and their families, that their fight and their death should not be forgotten and left un-recognised. And that those who abuse their power with impunity must not go unpunished, as ultimately receiving justice is the beginning of ending these killings.
Yet, we must also remember that many continue to fight for their rights and this body of work also represents their contribution in the community struggle. In particular, the involvement of women human rights defenders who play a vital and instrumental part and who are often under-represented are shown in large individual portraits, alongside in-depth documentaries of specific communities from around the country.
We must know what they died fighting for and we must never forget them.

Mr. Pitak Tonwut, 30
was shot dead close to his village on 17 May 2001. He was a consultant for the Conserve Chompoo River Basin Network in Nam Maprang District of Phitsanulok Province who protested the impact of a nearby quarry.
นาย พิทักษ์ โตนวุธ อายุ ๓๐ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตใกล้กับหมู่บ้าน เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เขาเป็นที่ปรึกษาชาวบ้านลุ่มน้ำชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ที่ต่อต้านโรงโม่หินในพื้นที่

Mr. Prasert Chomamarit, Chairperson
of Ban Fon Moo Peasant Federation in Nong Kwai District, Hang Dong District, Chiang Mai,was shot dead on 17 April 1975. Prasert was a prominent member of a local group which had been campaigning on rice paddy rental fee and exposing corruption by local government officials.
นาย ประเสริฐ โฉมอมฤต
ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านฝ่อนหมู ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๘ นายประเสริฐเป็นแกนนำเคลื่อนไหวเรื่องค่าเช่านาและเปิดโปงพฤติกรรมทุจริตของเจ้าหน้าที่

Mr. Chalor Khaochua, 38
Thai-Muslim Human Rights Defender was shot on his way home from prayer at a local mosque on Lanta Island, in Krabi province on 14 February 2003. He was shot 4 times. He was a local activist condemning the illicit drug trade and was killed after presenting proof of police participation in the drug trade.
นาย ชะลอ ขาวเชื้อ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวมุสลิมและเป็นแกนนำต่อต้านการค้ายาเสพติด อายุ ๓๘ ปี ถูกยิงระหว่างเดินทางไปทำละหมาดที่มัสยิดใกล้บ้านเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ เขาถูกยิงทั้งหมดสี่ครั้ง โดยถูกสังหารหลังจากส่งหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนร่วมกับการค้ายาและเกี่ยวข้องกับบริษัททำสวนปาล์ม
Mr. Nuan Daotad
Chairperson of Ban Sansaimoon Peasant Federation, Chiang Mai,was shot dead on 9 May 1976. A former boy scout and member of the Social Action Party, Mr. Nuan was part of the committee to control paddy field fees at the District level and expose official corruption.
นาย นวล ดาวตาด
ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านสันทรายมูล จ.เชียงใหม่ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๙ นายนวล เป็นอดีตลูกเสือชาวบ้านและสมาชิกพรรคกิจสังคม เป็นคณะกรรมการควบคุมค่าเช่านาประจำตำบล เป็นผู้นำชาวยาสูบ และเปิดโปงการทุจริต
Mr. Samnao Srisongkhram, 38
was shot dead in a field near his village on 25 November 2003 in Lam Nam Phong village, Khon Kaen province. He was the President of the Lam Nam Phong Environmental Conservation Association in Ubonrat district of Khon Kaen Province, leading a fight against the dumping of waste by a paper factory
นาย สำเนา ศรีสงคราม อายุ ๓๘ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ บ้านลำน้ำพอง จ.ขอนแก่น เขาเป็นประธานชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำพอง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เป็นแกนนำคัดค้านผลกระทบจากลำน้ำพองเน่าเสียของโรงงานผลิตกระดาษ

Mr. Chamrat Muangyam
was the second Chairperson of National Farmers Federation of Thailand after the 6 October massacre in 1976. He was arrested and imprisoned for being a suspected communist. After seven months behind bar, he was released, but then shot dead with an M-16 machine gun on 21 July 1979 while heading home with his wife in Nong Yai District of Chonburi Province.
นาย จำรัส ม่วงยาม
จ.ระยอง ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย คนที่ ๒ ภายหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ จำรัสถูกจับด้วยข้อหาภัยสังคม ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ถูกคุมขัง ๗ เดือนและได้รับอิสรภาพ ถูกยิงเสียชีวิตด้วยปืนอาวุธสงครามเอ็ม ๑๖ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ระหว่างทางกลับบ้านพร้อมภรรยา

Mr. Thanong Po-Arn
Chairperson of Confederation of Thai Labour, the largest trade union in Thailand and a member of International Confederation of Free Trade Unions (ICFTU) was abducted on 19 June 1991 and never seen again. His car was left stranded in front of the headquarters of the Eastern Transportation Trade Union building in Thonburi.
นาย ทนง โพธิ์อ่าน
ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งนับเป็นองค์กรแรงงานที่มีสมาชิกมากที่สุด และเป็นกรรมการสมาพันธ์แรงงานระหว่างประเทศภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (ICFTU) ถูกอุ้มหายตัวไปเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔ โดยที่รถยนต์ของเขาถูกจอดทิ้งไว้หน้าสำนักงานสหภาพแรงงานขนส่งสินค้าออก (ฝั่งธนบุรี)

Mr. Thong-in Kaewwattha
was shot dead on 18 January 1996. He was a prominent member of the group opposing to the construction of an industrial waste disposal plant in Rayong. After he was killed the waste plant moved from that location and was built elsewhere in the province.
นาย ทองอินทร์ แก้ววัดถา
ถูกลอบสังหารเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ ผู้นำคัดค้านการก่อสร้างโรงงานกำจัดกากสารอุตสาหกรรม จ.ระยอง

Mr. Pati Punu Dokjimu
an ethnic Karen, committed suicide on 5 March 1997 by jumping from a Bangkok - Chiang Mai train just after leaving Mae Ta Train Station in Lampang Province. His suicide was triggered by the stress accumulated during the tense negotiation with the then Minister of Agriculture and the harsh comments he received. A core member of the Network of Northern Peasants and the Assembly of the Poor, Pati Punu’s death prompted the government to agree to a resolution to verify and recognize the right of people who dwell in the forest.
นาย พะตีปูนุ ดอกจีมู ชาติพันธุ์ปกา
เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ โดยกระโดดช่องหน้าต่างรถไฟกรุงเทพ- เชียงใหม่เนื่องจากความเครียดจากคำพูดในระหว่างเวทีเจรจาของ รมว.เกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น เป็นผู้เข้าร่วมต่อสู้กับเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ(คกน.) และสมัชชาคนจน ความตายของพะตีปูนุ มีผลให้รัฐบาลมีมติครม.พิสูจน์สิทธิคนอยู่กับป่า โดยทุกวันที่ ๕ มีนาคม จะมีการร่วมกันระลึกถึงเขาในการต่อสู้เพื่ออยู่กับป่า

Mr. Ari Songkraw
the vice-President of the Pha Tom Num Conservation Association was shot dead in a rubber plantation on 30 December 1999, in Kanchanadit, Surat Thani province. He was trying to protect the forest from illegal logging.
นาย อารีย์ สงเคราะห์
รองประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคราม ถูกยิงเสียชีวิตในสวนยางเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ที่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ระหว่างการทำงานปกป้องป่าจากการทำไม้เถื่อน

Mr. Taksamol Aobaom
was shot dead on a highway on 10 September 2011. He was a lawyer campaigning against the illegal practices by officials of the Kaeng Krachan National Park against an ethnic Karen community living inside the park.
นาย ทัศน์กมล โอบอ้อม
ถูกยิงเสียชีวิตบนทางหลวงเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ เขาเป็นทนายความและแกนนำคัดค้านการบังคับไล่รื้อและการเผาชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึกบางกลอย เขตอุทยานแห่งชาติแก่งประจาน
Mr. Peera Tantiseranee
former Mayor of Songkhla was shot dead on 27 November 2009 after a meeting with an environmental group in the old part of the town. Acting as Mayor he refused to approve a request by another politician to use land along the coast and around Songklah Lake as part of a cable car and development project due to environmental concerns since the area is a coastal pine forest and of environmental importance.
นาย พีระ ตันติเศรณี
อดีตนายกเทศมนตรีนครสงขลา ถูกยิงเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ หลังจากเสร็จการประชุม เพื่อรณรงค์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ คัดค้านโครงการก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้าข้ามทะเลสาบสงขลาเพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม โดยเขาไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่แหลมสนอ่อนเพื่อก่อสร้างฐานกระเช้า เพราะต้องการอนุรักษ์ป่าสนผืนสุดท้ายกลางเมืองสงขลาไว้ให้ชนรุ่นหลัง

Mr. Preecha Thongpaen, 57
was shot dead on a main road on 27 September 2002 in Thung Song district of Nakhon Si Thammarat province, whilst campaigning against a poorly conceived sewage treatment plant. He was the leader of the Tambon Kuan Krod Environmental Conservation Group.
นาย ปรีชา ทองแป้น อายุ ๕๗ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตบนถนนใหญ่ในวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๕ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ระหว่างการคัดค้านโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียที่วางแผนไม่ดี เขาเป็นแกนนำกลุ่มอนุรักษ์ตำบลควนกรด

Mr. Phayao Panroj
a durian farmer and conservationist from Khao Tako forest, Thung Tako District, Chumphon Province, was shot dead by two assailants while watering his durian trees with his wife on 8 May 2016. He was believed to be shot because he exposed activities by outsiders that the villagers said would damage the water source of the valley if it continued. He collected evidence and took it to the press and government officials which infuriated those involved.
นาย พะเยาว์ ปานโรจน์
เกษตรกรชาวสวนทุเรียน นักอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร ถูก ๒ คนร้ายยิงถล่มด้วยปืนลูกซองยาวจนเสียชีวิตขณะที่ไปรดน้ำสวนทุเรียนกับภรรยา เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙ หลังจากเปิดเผยเรื่องการบุกรุกตัดไม้ รวมทั้งมีข้อขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐบางหน่วยงาน โดยชาวบ้านในพื้นเองก็มีความหวาดกลัวกับพฤติกรรมข่มขู่หลากหลายรูปแบบจากเจ้าหน้าที่หน่วยดังกล่าวตลอดเวลา

Mr. Kaset Yotboonrueng
former Sub-District Head who worked hard to protect his community in Sri Saket District, Nan Province was shot in the torso, legs and head on 28 August 2018 by an AK47. Kaset was instrumental in the conservation of the forests and wildlife surrounding his community and was ambushed whilst he was working on his farmland.
นาย เกษตร ยศบุญเรือง
อดีตกำนันแหนบทอง ต.ศรีษะเกษ จ.น่าน ถูกยิงบริเวณลำตัว ขา และศีรษะ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ด้วยอาวุธสงคราม AK๔๗ (อาก้า) กำนันเกษตรมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ป่าไม้สัตว์ป่า ผลักดันให้เกิดแผนชุมชน ต.ศรีษะเกษ รวมทั้งนำชาวบ้านจัดทำบัตรสวัสดิการออมวันละ ๑ บาท
Mr. Kampan Suksai
was shot dead on the main road running through Pa Ngam village in Chiang Mai Province on the 20 December 2003. He was a village head who was opposing the encroachment into a nearby community forest.
นาย คำปัน สุกใส
ถูกยิงเสียชีวิตบนถนนใหญ่ที่หมู่บ้านผางาม จ.เชียงใหม่ ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เขาเป็นผู้ใหญ่บ้านที่คัดค้านการบุกรุกทำลายป่าในเขตป่าชุมชน

Mr. Sutthi Atchasai
former Coordinator of the People’s Network in the East, Rayong Province, allegedly took his own life by shooting himself in his pickup truck on the morning of 16 July 2014. A prominent and vocal member of a group opposed to the development of coal-fired power plants, Sutthi had come out to demand attention from the state toward health and environmental problems in the Map Ta Phut area. Those close to Sutthi dispute the suicide verdict saying certain parts of the evidence doesn’t add up.
นาย สุทธิ อัชฌาศัย
อดีตผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก จ.ระยอง โดยเขาได้ตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเองด้วยการยิงตัวตาย ภายในรถกระบะของตัวเอง และเสียชีวิตในช่วงเช้าวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗ สุทธิชัยถือเป็นแกนนำสำคัญในการออกมาคัดค้านต่อต้านโรงงานอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเคลื่อนไหวให้ภาครัฐหันมาสนใจปัญหาสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ มาบตาพุด

Mr. Somporn Pattaphum
was shot dead on 11 January 2010 during dinner at his home (which no longer exists) in a community of landless farmers that were living on an expired palm plantation in Chai Buri, Surat Thani province. Despite no legal rights to the land the palm oil company continued to harvest the palm oil whilst allegedly trying to evict the villagers. He was a member of the Southern Peasants’ Federation of Thailand (SPFT) which is a landless peasants’ network formed in 2008 to campaign for the right to agricultural land in Surat Thani Province.
นาย สมพร พัฒนภูมิ
ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๒ ระหว่างกินข้าวเย็นในบ้านของเพื่อนบ้านในชุมชนคลองไทรพัฒนา ซึ่งเคยเป็นเขตทำสวนปาล์มผิดกฎหมายใน อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เขาเป็นนักรณรงค์ปกป้องสิทธิในที่ดินและเป็นสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)

Mr. Charoen Wat-Aksorn, 37
was shot dead whilst stepping off a bus. The shooting happened on 21 June 2004 in Bo Nok, Prachuap Kiri Khan Province. He was the President of the Love Bo Nok Association and relentless campaigner against the construction of coal-powered plants in his locality.
นายเจริญ วัดอักษร ๓๗ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างลงจากรถทัวร์เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๗ ที่ ต.บ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขาเป็นประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอกและรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่

Mr. Sitthichai Phetpong
chairperson of the Sea Conservation Association of Songkhla, and member of the Southern NGO Coordinating Committee, suffered a serious gunshot wound in Hat Yai on 27 November 2009 and later died in hospital. His NGO helped to promote the formation of local savings groups and to encourage local villagers to form co-operatives to buy rubber latex in their villages thus prevent the wealthy from monopolizing the market. This struggle lead to four other local people being shot which he helped to document, using the information to arrest of the perpetrators.
นาย สิทธิชัย แพทย์พงศ์ หรือชู
อุปนายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย จ.สงขลา สมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา เป็นเอ็นจีโอที่สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในพื้นที่ และจัดตั้งกลุ่มรับซื้อน้ำยางพาราในหมู่บ้านเพื่อลดการผูกขาดนายทุน จนคนในพื้นที่ถูกยิงเสียชีวิตและบาดเจ็บมาแล้ว ๔ ราย โดยตัวเขาเองได้บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้อย่างละเอียด จนสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุ ได้ในที่สุด

Mr. Narin Phodaeng, 67
was shot dead in his petrol station on 1 May 2001. He was the President of the Khao Chaang Klang Thung Environmental Protection and Natural Resource Conservation Association in Khao Chamao District of Rayong Province. The groups were protesting a mining company working at a nearby mountain.
นาย นรินทร์ โพธิ์แดง อายุ ๖๗ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตที่ปั๊มน้ำมันของตนเอง เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เขาเป็นประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเขาชะอางกลางทุ่ง กิ่ง อ.เขาชะเมา จ.ระยอง ซึ่งคัดค้านโรงโม่หินในพื้นที่

Mr. Asutolo Leeja
an ethnic Lisu from Ban San Pa Hiang, Chiang Dao District, Chiang Mai was shot dead on 22 May 2012. He protested against the head of the local sub-district who tried to confiscate land used by local ethnic Lisu villagers including his family. There has been no progress in the investigation of this case.
นาย อะซือโต๊ะโล๊ะ หลี่จ๊ะ
ชาวชนเผ่าลีซูหรือลีซอ บ้านสันป่าเหียง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ เนื่องจากถูกกำนันในพื้นที่พยายามยึดที่ดินคืนจากชาวลีซูโดยครอบครัวของเขามีพื้นที่บางส่วนถูกยึดด้วย ทั้งนี้จนถึงปัจจุบันคดียังไม่มีความคืบหน้า
Mr. Chuan Niamweera
an executive member of the Suphan Buri Peasant Federation was shot dead on 12 August 1975 on his bicycle while heading home from Oo Thong market with his youngest son. It is alleged that the hitman, a police official, shot him because influential people in the area were unhappy by his campaign.
นาย ช้วน เนียมวีระ
กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ จ.สุพรรณบุรี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ขณะปั่นจักรยานกลับจากตลาดอู่ทองพร้อมลูกชายคนสุดท้อง มือปืนเป็นตำรวจยิงใส่บริเวณสีข้างด้านซ้าย สาเหตุเกิดจากนายทุนเงินกู้ไม่พอใจการรณรงค์ของเขา
Mr. Boonsom Nimnoi, 44
was shot dead on a road close to his home on 2 September 2002 in Baan Laem, Phetchaburi province. He was a member of the Amphur Baan Laem Ocean Conservation Group and a leader of a campaign against a polluting petro-chemical plant.
นาย บุญสม นิ่มน้อย ๔๔ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตบนถนนใกล้กับบ้านตนเองเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๕ ใน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เขาเป็นสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ทะเลอำเภอบ้านแหลม และเป็นแกนนำคัดค้านการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีที่ก่อมลพิษ

Mr. Boonyong Intawong, 42
was shot dead in his house on 20 December 2002 in Baan Rong Ha village, Amphur Wiang Chai in Chiang Rai Province. A leader of a campaign against a mining company, he was targeted after bringing a team from the National Human Rights Commission to see the environmental damage caused by the quarry.
นาย บุญยงค์ อินต๊ะวงศ์ ๔๒ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตในบ้านตนเองเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ที่บ้านร่องห้า ต.ผางาม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย เขาเป็นแกนนำคัดค้านเหมืองหิน และตกเป็นเป้าหมายหลังจากที่นำตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าสำรวจความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการทำเหมืองหิน

Mr. Bunlert Duankoda
was shot whilst working in his field after leading a protest over the damage caused by a quarry mining company in 1993 in Dongmaphai District of Nong Bua Lam Phu province.
นาย บุญเลิศ ดวงภูตะ
ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ. หนองบัวลำภู ถูกยิงระหว่างทำนาเนื่องจากเป็นแกนนำการประท้วงโรงโม่หินในพื้นที่ พ.ศ.๒๕๓๖

Mr Chai Bunthonglek
was shot dead by two gunmen on 11 February 2015 when visiting a relative’s house. The 61-year-old member of the Southern Peasant’s Federation of Thailand (SPFT) from Khlong Sai Pattana community in Chai Buri District of Surat Thani province was part of a long-time dispute over land rights with a palm oil company. He is the fourth member of Khlong Sai Pattana community killed in 5 years.
นาย ใช้ บุญทองเล็ก อายุ ๖๑ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตโดยมือปืน ๒ คนเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๘ ระหว่างไปบ้านญาติ เขาเป็นสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และแกนนำชุมชนคลองไทรพัฒนา อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินกับบริษัททำสวนปาล์ม นับเป็นสมาชิกคนที่ ๔ ของชุมชนคลองไทรพัฒนาที่ถูกสังหารในรอบ ๕ ปี
Mr. Inta Sriboonreung
Chairperson of Northern Peasant Federation (NPF) and Vice Chairperson of National Peasant Federation of Thailand was shot dead on 30 July 1975 in front of his house in Saraphi District, Chiang Mai. A community leader, Inta had taken the lead to promote theatrical performances by the villagers as a tool to mobilize the peasant farmers movement in the North. The farmers were working in collaboration with students, volunteers and workers to spread information about the Rice Field Fee Control Act and to promote the rights of landless peasants.
นาย อินถา ศรีบุญเรือง
หรือพ่อหลวงอินถา ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือและรองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎคม พ.ศ.๒๕๑๘ นายอินถาเริ่มต้นจากการเป็นผู้นำชุมชน ตั้งกลุ่มละครหมู่บ้านเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันในช่วงที่ขบวนชาวนาโดยเฉพาะภาคเหนือร่วมกับกับ ๓ ประสาน นักศึกษา-ชาวนา-กรรมกร เผยแพร่ข้อมูล พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา รวมทั้งผลักดันให้เจ้าของที่ดิน เจ้าของที่นา ชาวนา ชาวไร่ไร้ที่ดินเช่าทำนา
Ms. Chaweewan Pueksungnoen, 35,
a campaigner from Na Klang Tambon Administrative Organisation, Na Khon Ratchasima province was shot dead on the 21 June 2001 outside of her house. She was challenging the mismanagement and corruption in local construction projects that were against public interest.
นาง ฉวีวรรณ ปึกสูงเนิน อายุ ๓๕ ปี
เป็นนักรณรงค์จากอบ ต.นากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๔ นอกบ้านตนเอง เธอเป็นผู้เปิดโปงการบริหารงานที่มิชอบและการทุจริตในโครงการก่อสร้างในพื้นที่ซึ่งส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของสาธารณะ

Mr. Chit Thongchit, 54
was shot on his land in Pak To District of Ratchaburi Province on 15 January 2009. He died 4 days later in hospital. An ex-policeman, he was shot by a sniper after exposing corruption inside the police force and fighting more than 10 corruption cases against police, influential locals and national politicians.
ดาบตรี ชิต ทองชิต อายุ ๕๔ ปี
ถูกยิงในที่ดินของตนเองที่ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๒ และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลอีก ๔ วันต่อมา เขาเคยเป็นตำรวจ และถูกซุ่มยิงเนื่องจากเปิดโปงการทุจริตในวงการตำรวจ และมีการฟ้องคดีทุจริตกว่า ๑๐ คดี เพื่อเอาผิดกับตำรวจ ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่และนักการเมืองระดับชาติ

Mr. Jun Boonkhunton
was shot dead in a field near his village on 22 July 1996. He was a leader of the Assembly of the Poor and at the time of his death fighting against the construction of the Phong Khun Phet dam in Chaiyaphum Province.
นายจุน บุญขุนทด
ถูกยิงเสียชีวิตที่นาในหมู่บ้านเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เขาเป็นแกนนำสมัชชาคนจนคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ

Mr. Jurin Ratchapol, 55
was shot dead on 30 January 2001 after being threatened a few days earlier by the influential owner of a local shrimp farm. He was the leader of the Baan Pa Khlok Conservation Association, Phuket province, protesting against the project of a shrimp farm that planned to cut down large areas of mangrove forests.
นาย จุรินทร์ ราชพล อายุ ๕๕ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๔ ก่อนหน้านี้เขาถูกขู่ฆ่าจากเจ้าของฟาร์มเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพล นาย จุรินทร์เป็นแกนนำชุมชนบ้านป่าคลอก ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ที่คัดค้านโครงการทำนากุ้งซึ่งจะส่งผลให้มีการทำลายป่าชายเลนขนาดใหญ่
Mr. Kamol Lansophapan, 49
was last seen at the Ban Phai Police Station on 7 February 2005 and never seen again. He was an out-spoken anti-corruption activist who was questioning the purchase of land belonging to the Thai State Railway in Ban Phai town in Khon Kaen Province.
นาย กมล เหล่าโสภาพันธ์ ๔๙ ปี
ถูกลักพาตัวไปจากสถานีตำรวจภูธรบ้านไผ่ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๘ ปัจจุบันเป็นผู้สูญหาย เขาเป็นแกนนำที่มักเปิดโปงการทุจริตและเป็นผู้ร้องขอให้ตรวจสอบการจัดซื้อที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น

Mr. Chaiyaphum Pasae
a 17-year-old ethnic Lahu youth activist, was subject to an extrajudicial killing by military officials at an army checkpoint in Chiang Dao District, Chiang Mai Province on 17 March 2017. The official explanation about the cause of Chaiyaphum Pasae’s death is dubious as there are conflicting details given by the eyewitnesses and the circumstantial evidence. The most vital piece of evidence, footage from security cameras at the checkpoint have still not been disclosed to the public.
Note: This photograph was taken in the safe house that his guardians have been forced to live in for fear of their safety since his death.
นาย ชัยภูมิ ป่าแส หรือ “จะอุ”
นักกิจกรรมเยาวชนชาวลาหู่วัย ๑๗ ปี เขาถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรมจนเสียชีวิตที่ด่านบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ กรณีของชัยภูมิ มีข้อกังขาในพฤติการณ์การตาย ปากคำพยานและแวดล้อมที่ไม่ตรงกัน โดยเฉพาะหลักฐานสำคัญคือภาพกล้องวงจรปิดตรงด่านที่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ

Ms. Montha Chukaew, 54
Ms. Pranee Boonrat, 50
were shot and killed while they were on their way to a local market on 19 November 2012. They were members of the Southern Peasants’ Federation of Thailand (SPFT). The SPFT is a landless peasants’ network formed in 2008 campaigning for the right to agricultural land in the Khlong Sai Pattana community, Chaiburi district, Surat Thani Province and other areas in the region.
นาง มณฑา ชูแก้ว
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง อายุ ๕๔ ปี และนาง ปราณี บุญรักษ์ อายุ ๕๐ ปี ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างเดินทางไปตลาดใกล้บ้าน เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕ ทั้งสองคนเป็นสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) นางปราณีเป็นผู้ก่อตั้งเครือข่ายชาวนาไร้ที่ดิน เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ และรณรงค์เพื่อให้มีสิทธิในที่ดินปฏิรูปเกษตรกรรม ชุมชนคลองไทรพัฒนา อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานีและพื้นที่อื่นๆในภูมิภาค มีการทำลายศพของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงเพื่อขู่สมาชิกคนอื่นๆสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้

Ms. Pakwipa Chalernklin, 49
was shot dead on the 14 October 2004 near her house in Ba Mok District of Ang Thong province. She was a community member of Baan Hua Krabu group who were fighting against the construction of a container port on the nearby river.
นาง พักตร์วิภา เฉลิมกลิ่น
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง อายุ ๔๙ ปี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ใกล้กับบ้านตนเองที่ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เธอเป็นชาวบ้านในบ้านหัวกระบือที่คัดค้านการก่อสร้างท่าเทียบเรือขนทราย

Mr. Metta Laoudom
a farmer and a member of the farmers’ Federation of Thailand, was shot dead on 11 August 1974 in Bang Lamung District, Chonburi. Metta was a prominent member of a local group campaigning against land-grabbing specifically against a cassava processing plant that had exercised its influence to buy large areas of land. Conceding to the demand of the protesters, the factory agreed to return all the land acquired. Metta was also instrumental in the protests against the Map Prachan Dam Project by the Royal Irrigation Department which led to the suspension of the project.
นาย เมตตา (ล้วน) เหล่าอุดม
ตัวแทนชาวนาชาวไร่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๗ โดยคนร้ายใช้ปืนยิง ๓ นัดจนเสียชีวิต นายเมตตาถือเป็นผู้นำคัดค้านบริษัทรับซื้อหัวมันทำแป้งสด ใช้อิทธิพลยึดพื้นที่ ๕๐๐ ไร่จนได้รับที่ดินคืน รวมทั้งคัดค้านก่อสร้างเขื่อนมาบประชันของกรมชลประทาน จนรัฐบาลระงับไว้ชั่วคราว

Mr. Pitan Thongpanang, 45
was shot 9 times on a remote dirt track close to his home on 30 November 2014. Mr. Pitan was active in opposing mining operations on his community’s land in Nonpitam district, Nakhon Sri Thammarat province. He was the lead plaintiff in an ongoing case in which the administrative court issued a temporary order to the company involved to halt its mining operations. Mr. Pitan was shot when he was visiting villagers to seek their financial support for his legal assistance in the case.
NOTE: Because of the sensitivity of this case and so as not to endanger the family of Mr. Pitan further this photograph was taken close-by, but outside the community, on another dirt track identical in appearance.
นาย พิธาน ทองพนัง อายุ ๔๕ ปี
ถูกยิง ๙ ครั้งบริเวณถนนเขตชนบทใกล้กับบ้าน เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗ เขาเป็นแกนนำต่อต้านโครงการเหมืองแร่ในเขต อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช และเป็นโจทก์ในคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อให้บริษัทยุติการประกอบกิจการเหมืองแร่ นายพิธานถูกยิงระหว่างไปเยี่ยมชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเพื่อขอเรี่ยไรเงินสนับสนุนการต่อสู้ในคดีของเขา

Mr Porlajee Rakchongcharoen
known as “Billy,” was last seen at a National Park checkpoint on 17 April 2014 after having been detained for apparently illegally collecting wild honey in the forest. He was a community leader of the ethnic Karen community living in Kaeng Krachan National Park, Phetchaburi province. He supported the Karen villages of Pong Luk Bang Kloy where more than 20 Karen families suffered from the destruction and burning of their homes.
นาย พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง หายตัวไปที่ด่านตรวจเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ ก่อนหน้านั้นเขาถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเนื่องจากครอบครองน้ำผึ้งป่า เขาเป็นแกนนำชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งประจาน จ.เพชรบุรี และเป็นแกนนำชาวบ้านบ้านบางกลอยบนกว่า ๒๐ ครอบครัวซึ่งได้รับผลกระทบจากการเผาและไล่รื้อบ้านเรือน

Mr. Den Khamlae
a land right activist from Khon San District in Chaiyaphum Province and a prominent member of the Isan Land Reform Network became a victim of enforced disappearance on 16 April 2016 as he left his home at Kok Yaaw village to find mushrooms in the forest. He was part of a community that was enduring a fierce land dispute with the authorities who wanted to relocate the village as part of the controversial forest reclamation policy act.
นาย เด่น คำแหล้
นักต่อสู้เพื่อที่ดินทำกินป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และแกนนำเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ถูกบังคับสูญหายวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ บริเวณสวนป่าโคกยาว รอยต่อระหว่างป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนามและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ท่ามกลางการต่อสู้ปมปัญหาข้อพิพาทในพื้นที่ชุมชนโคกยาว ที่เจ้าหน้าที่พยามผลักดันให้ชาวบ้านออกนอกพื้นที่ตามนโยบายทวงคืนผืนป่าของคสช.

Mr. Rod Thani
Chairperson of Northeastern Peasant Federation and Vice Chairperson of National Peasant Federation of Thailand was shot dead on 5 July 1979 in Nong Bua Daeng District, Chaiyaphum Province. One of the founders of the Federation, he took the lead in the campaigning against the construction of the nearby Lam Chee Bon Dam.
นาย หรอด ธานี
ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคอีสาน และรองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๒ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฯ และเป็นผู้นำคัดค้านเขื่อนลำชีบน จ.ชัยภูมิ

Mr. Singthong Puttachan
was shot dead in his shop on 8 September 2011 in Wiang Chai District of Chiang Rai province. He was a member of a community opposing the construction of a power plant next to their village. Still to this day the villagers don't know the name of the company that wanted to build the power plant.
นาย สิงห์ทอง พุทธจันทร์
ถูกยิงเสียชีวิตที่ร้านค้าของตนเองเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย เขาเป็นแกนนำต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลซึ่งจะก่อสร้างในพื้นที่
Mr. Sittichock Tamtecha
member of Surat Thani Provincial Administrative was shot dead at his home on 6 May 1997.He led the protest against the Kangkrung dam and managed to stop an illegal logging permit. Further he fought against corrupt transport infrastructure projects.
นาย สิทธิโชค ธรรมเดชะ
สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ เขาเป็นผู้ต่อต้านการสร้างเขื่อนแก่งกรุง การทำสัมปทานในพื้นที่ป่าไม้ของ ๒ บริษัทยักษ์ใหญ่จนประสบความสำเร็จ อีกทั้งได้ทำการต่อต้านการทุจริตขุดคลองและการสร้างถนนจนกระทั่งถูกยิงเสียชีวิต

Mr. Somchai Neelapaijit
the renowned Thai-Muslim lawyer and human rights activist was abducted on 12 March 2004, in Ramkamheang district of Bangkok. The motive is thought to have been Somchai’s representing of Muslim defendants in terrorism cases in the deep south provinces who claimed they were tortured.
นาย สมชาย นีละไพจิตร
เป็นทนายความชาวมุสลิมที่มีชื่อเสียงและเป็นนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน เขาถูกลักพาตัว เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ในเขตรามคำแหง กรุงเทพฯ เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการที่เขารับว่าความให้กับจำเลยชาวไทยมุสลิมในคดีก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งจำเลยเหล่านี้อ้างว่าถูกซ้อมทรมาน

Mr. Somporn Chanapol, 41
was shot whilst he slept in his home on 1 August 2001. He was the president of the Klong Kra Dae Environmental Conservation Group, Surat Thani province, who were trying to combat illegal logging in the forest.
นาย สมพร ชนะพล อายุ ๔๑ ปี
ถูกยิงระหว่างนอนหลับในบ้านเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เขาเป็นประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำกระแดะ จ.สุราษฎร์ธานี ที่ต่อสู้กับการลักลอบทำไม้เถื่อน

Mr. Ja Jakrawan
the vice president of the Farmers’ Federation of Thailand was shot dead on 3 July 1975 in Mae Rim District, Chiang Mai Province. Mr. Ja was an active participant in the movement to change the 1974 Rice Field Fee Control Act and was also actively collecting information regarding money laundering of approximately 2,500 million baht from government budget leaks before being shot dead.
นาย จา จักรวาล
รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านดง ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ด้วยปืนลูกซอง นายจาเป็นผู้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวยับยั้ง พรบ.ควบคุมค่าเช่านาปี พ.ศ.๒๕๑๗ และกำลังเตรียมข้อมูลในการซักฟอกสภาตำบลที่มีการรั่วไหลของงบประมาณจากนโยบายเงินผัน ๒,๕๐๐ ล้านบาทสู่ชนบทก่อนถูกยิงเสียชีวิต๕๒. นาย สมสุข เกาะกลาง อายุ ๕๐ ปี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ในสวนปาล์ม เขาเป็นแกนนำต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินและได้ประท้วงคัดค้านบริษัทสวนปาล์ม ซึ่งถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำที่ดินของชุมชน

Mr Somsuk Kohklang, 50
was shot dead on 3 December 2014 in a palm oil plantation. He was a land rights village activist leading a campaign against a corporate palm oil plantation allegedly encroaching land given to the communities.
นาย สมสุข เกาะกลาง อายุ ๕๐ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ในสวนปาล์ม เขาเป็นแกนนำต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินและได้ประท้วงคัดค้านบริษัทสวนปาล์ม ซึ่งถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำที่ดินของชุมชน

Mr. Supol Sirijant, 58
was shot dead in his home on 11 August 2004. He was the leader of the Mae Mok Community Forestry Network in Toen District of Lampang Province and was fighting against the illegal logging of a nearby community forest.
นาย สุรพล ศิริจันทร์ อายุ ๕๘ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ เขาเป็นผู้นำนักอนุรักษ์เครือข่ายป่าชุมชนแม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง ขัดขวางกลุ่มผู้มีอิทธิพลในขบวนการค้าไม้เถื่อนใกล้กับเขตป่าชุมชน

Mr. Suwat Wongpiyasathit, 45
was shot dead inside a shop on 26 June 2001 in Bang Phli district of Samut Prakan Province. He was the leader of a group of villagers campaigning against the relocation of a garbage landfill site proposed to be placed next to their village.
นาย สุวัฒน์ วงศ์ปิยะสถิต อายุ ๔๕ ปี
ถูกยิงเสียชีวิตที่ร้านค้าแห่งหนึ่งในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เขาเป็นผู้นำการคัดค้านโครงการกำจัดขยะราชาเทวะซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่
Mr. Thongnak Sawekchinda, 47
was shot 9 times whilst sitting outside his home on 28 July 2011 in Samut Sakhon town. Thongnak had led villagers in Ban Phaeo and Krathum Baen districts in high-profile protests against air pollution including dust and fumes which was coming from coal depots and separation factories.
นาย ทองนาค เสวกจินดา อายุ ๔๗ ปี
ถูกยิง ๙ ครั้งระหว่างนั่งอยู่ในบ้าน เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ที่ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เขาเป็นแกนนำชาวบ้านที่ อ.เมือง อ.บ้านแพ้ว และ อ.กระทุ่มแบน ที่รณรงค์คัดค้านมลพิษทั้งที่เป็นฝุ่นและควันจากโรงงานถ่านหินและโรงงานแยกถ่านหิน
Mr. Som Hompornma (right)
Mr. Tongnuan Kamjen (left)
were shot dead at the same time on the edge of a road leading to the town of Suwan Khu Ha in Nong Bua Lam Phu Province on 22 April 1999. They were part of a group of villagers protesting the construction of a limestone quarry.
นาย สม หอมพรหมา (ขวา)
นายทองม้วน คำแจ่ม (ซ้าย)
ถูกยิงเสียชีวิตพร้อมกันเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๒ บนถนน อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู ทั้งสองเป็นสมาชิกกลุ่มที่คัดค้านสัมปทานโรงโม่หิน
About the Artist
Luke Duggleby is an award-winning British freelance photographer who has been based in Bangkok, Thailand, for over 15 years where he continues to work as a professional photographer across the region. He focuses on documentary and portrait photography with a focus on human and environmental rights issues.
When not on assignment he works on his own personal documentaries which is how this body of work titled For Those Who Died Trying (And Those Who Endure) began. His work has been published and assigned by some of the world’s largest media platforms and NGO’s including The New York Times, The Guardian, USAID, ARTE, GEO and Al Jazeera. He has been exhibited in the US, Europe and Asia and he has spoken about his work at a variety of locations including Tedx Khon Kaen, Nelson Mandela University South Africa, The University of York Human Rights Hub and SOAS London.
Luke has published two books, one in German titled Salz der Erde (Salt of the Earth) published by mareVerlag in Germany, Austria, and Switzerland. And the other in Italian by Egon titled Il Lato Invisible del Paradiso - Pellegrinaggi ai Confini del Tibet (The Invisible Side of Paradise - A Pilgrimage into Tibet's Borderlands).
Maiiam
Contemporary
Art Museum
Maiiam
Contemporary
Art Museum
Copyright 2016
All right reserved