ERRATA: Collecting Entanglements and Embodied Histories

A dialogue between the collections of Galeri Nasional Indonesia, Jakarta (Indonesia), MAIIAM Contemporary Art Museum, Chiang Mai (Thailand), Nationalgalerie–Staatliche Museen zu Berlin (Germany), and Singapore Art Museum (Singapore) initiated by the Goethe-Institut

Curators: Gridthiya Gaweewong with Anna-Catharina Gebbers, Grace Samboh, and June Yap
Exhibition period: 30th July – 1st November 2021
MAIIAM Contemporary Art Museum, Chiang Mai, Thailand

Participating artists: 

Agung Kurniawan, Amanda Heng, Ampannee Satoh, Anuwat Apimukmongkon, Arahmaiani, Araya Rasdjarmrearnsook, Arin Rungjang, Bruce Nauman, Chiang Mai Social Installation, Dansoung Sungvoraveshapan, Dolorosa  Sinaga, Fiona Tan, FX Harsono, Ho Tzu Nyen, Indonesian New Art Movement, Jeroen De Rijke and Willem De Rooij, Joseph Beuys, Kamol Phaosavasdi, Kawita Vatanajyankur, Keiichi Tanaami, Khvay Samnang, Koh Nguang How, Melati Suryodarmo, Mit Jai Inn, Naiza Khan, Navin Rawanchaikul, Nutdanai Jitbunjong, Öyvind Fahlström, Pichet Klunchun and  Shane Bunnag, Pramuan Burusphat, Paphonsak La-or, Ray Langenbach, Rirkrit Tiravanija, Sutthirat Supaparinya, Thanom Chapakdee, Thasnai Sethaseree, The Propeller Group, Tisna Sanjaya, Ulrike Rosenbach, Wantanee Siripattananuntakul

The exhibition ERRATA is one of the four exhibition series ”Collecting Entanglements and Embodied Histories,” which will be first on display from July 30 to November 1, 2021 at MAIIAM Contemporary Art Museum in Chiang Mai, Thailand. This show encompasses works from 38 artists and 4 archives, derived from a dialogue between the four collections of all partners – Galeri Nasional Indonesia, MAIIAM Contemporary Art Museum, Chiang Mai, Nationalgalerie–Staatliche Museen zu Berlin, and Singapore Art Museum. In development since 2017, the exhibition “Collecting Entanglements and Embodied Histories” aims to trace stories, counter-histories and absent histories whose spirits populate the present while seeking new narratives. The project explores the question of how these interwoven histories within nation-building processes, individual identity formation and their embodiment are reflected in artistic works and their exhibition history.

“ERRATA”, in general, can be found as inserted sheets or papers within books or printed media, indicating the correction of errors of written texts. ERRATA in this exhibition context serves as a metaphor for MAIIAM Contemporary Art Museum’s collection as a manifestation of errata to Thai modern and contemporary art history. It’s not only about correction to and critique of the grand narrative of national centric art history, but offers alternative perspectives of small narratives to counter and contest constructed historiography in the regional and global social and geopolitical context. It also traces the history of exhibitions, art movements and collectives in the region and beyond. This show investigates contested narratives, counter and alternate histories from the remnants of the crypto-colonial period to Cold War politics. Located at the intersection of regional and global perspectives on art and history, the exhibition unpacks the complexity of small narrative artistic practices from performance art, media-based works and multidisciplinary works especially from artists, particularly women, who use their bodies and cameras to encapsulate and embody the entangled histories. How do contemporary artists work as archeologists to excavate untold history? How are they revisiting the collective memory and proposing the rewritten versions? And how is performance art hijacked by younger generation activists to perform their political resistance and social disobedience on the street today?

The nature of this collaboration is to use each museum collection as a departure point to engage and dialogue with our partner museums. One of the highlights is to celebrate the centenary of Joseph Beuys, as his social sculpture inspired many artists in the MAIIAM Contemporary Art Museum’s and resonated with Chiang Mai Social Installation, a series of artist-led festivals that connected the local art scene with Southeast Asian performance arts and beyond in the early 1990s. The reenactment of a Week of Sufferings will be led by Mit Jai-Inn, a co-founder of Chiang Mai Social Installation.

Furthermore, an extensive public program is being planned in cooperation with all partners, in which audiences themselves can engage both online and onsite throughout the exhibition periods.

Public Programs :

Thursday 29 July 2021, 5 pm (BKK / Jakarta Time)

ERRATA_EVENT

The ‘Body’ is not just flesh 

A conversation between Arahmaiani (Yogyakarta), Kawita Vatanajyankur (Bangkok) and Sutthirat Supaparinya (Chiang Mai). This session will be moderated by Zoe Butt (Ho Chi Minh City) and hosted by Gridthiya Gaweewong (Bangkok).

A livestream event on Goethe-Institut Thailand Youtube channel

The word ‘body’ refers to much more than flesh. In the context of art, particularly art by women, the word ‘body’ has historically, been too often relegated to questions of gender and biology. Whilst such topics are indeed important, the three artists on this particular panel have deeper questions concerning alternate views of a metaphysical body, political body or a topographical body as an investigation of the spiritual, of justice and the landscapes of our natural world. Their approach to such ‘bodies’ of ‘knowledge’ will here be shared with unique introspection, focusing on particular prior personal experiences or /events that have triggered poetic and critical artistic enquiry; resulting in projects spanning performance, installation, sculpture and film.

NOTE: Due to the ongoing COVID-19 situation, physical programs are subject to change, please follow further updates on the MAIIAM Contemporary Art Museum website and Facebook page.

ERRATA Exhibition is made possible by generous support of the Goethe-Institut,  Patsri Bunnag Foundation, Eric Booth, Jean Michel Beurdeley, SONY,  DC Collection, SAMSUNG, QUU HOTEL, Chiang Mai, Mit Jai Inn. Special thanks to Maren Niemeyer, Dr. Disaphol Chansiri, Dhaka Art Summit, Jim Thompson Art Center and the James H.W. Thompson Foundation.

บทสนทนาระหว่างชุดผลงานสะสมจาก หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย กรุงจาการ์ตา (ประเทศอินโดนีเซีย), พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จังหวัดเชียงใหม่ (ประเทศไทย), พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ เบอร์ลิน (ประเทศเยอรมนี) และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ (ประเทศสิงคโปร์)โดยการริเริ่มจากสถาบันเกอเธ่

คัดสรรโดย กฤติยา กาวีวงศ์ ร่วมกับ แอนนา แคทารีน่า เกบเบอร์ส, เกรซ แซมโบซ์, และ จุน แยป
จัดแสดงระหว่างวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พฤศจิกายน .. ๒๕๖๔
ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยมจังหวัดเชียงใหม่

ศิลปินที่เข้าร่วมแสดงผลงานมีดังนี้

กมล เผ่าสวัสดิ์, กวิตา วัฒนะชยังกูร, โก๊ะ หงวน ฮาว, คไว สัมนาง, เคอิจิ ทานามิ, โจเซฟ บอยส์, เชียงใหม่จัดวางสังคม, ณัฐดนัย จิตต์บรรจง, เดอะ โพรเพลเลอร์ กรุ๊ป, แดนสรวง สังวรเวชภัณฑ์, โดโลโรซ่า ซินากา, ถนอม ชาภักดี, ทัศนัย เศรษฐเสรี, ทิสนา ซานจายา, นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล, ไนซ่า คาน, บรูซ นอแมน, ปพนศักดิ์ ละออ, ประมวญ บุรุษพัฒน์, พิเชษฐ กลั่นชื่น และ เชน บุนนาค,ฟิโอน่า แทน, มิตร ใจอินทร์, เมลาติ ซูร์โยดาร์โม, เยอโรน เดอ ไรเกอ และ วิลเลม เดอ รอยจ์, เรย์ ลางเกนบาค, ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช, วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร, สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา, อนุวัฒน์ อภิมุขมงคล, อริญชย์ รุ่งแจ้ง, ออยวินด์ ฟาห์ลสเตริม, อากุง กูรนิอาวัน, อามันดา เฮง, อารยา ราษฎร์จําเริญสุข, อาราไมอานี, อำพรรณี สะเตาะ, อินโดนีเซียน นิว อาร์ท มูฟเมนท์, อูลริค โรเซนบาค, เอฟ เอ็กซ์ ฮาร์โซโน, โฮ ซู เหนียน

ERRATA คือหนึ่งในสี่นิทรรศการ จากนิทรรศการชุด “Collecting Entanglements and Embodied Histories” และเป็นนิทรรศการแรกที่จะถูกนำเสนอสู่สาธารณะ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.. ๒๕๖๔ ไปจนถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๖๔  ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย นิทรรศการนี้รวบรวมผลงานจากศิลปินทั้งหมด ๓๘ ท่านและชุดข้อมูลบันทึกทางประวัติศาสตร์กว่า ๔ แหล่ง ที่คัดสรรจากชุดผลงานสะสมของพิพิธภัณฑ์พันธมิตรทั้งสี่แห่ง ได้แก่ หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย เมืองจาการ์ตา, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จังหวัดเชียงใหม่, พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ เบอร์ลิน และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์

นิทรรศการชุด Collecting Entanglements and Embodied Histories ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.. ๒๕๖๐ โดยมุ่งหมายที่จะติดตามเรื่องราว ประวัติศาสตร์อันสลับซับซ้อนและในบางครั้งขัดแย้งซึ่งกันและกันเอง รวมถึงประวัติศาสตร์ที่เลือนหายไป ทั้งยังคงมีความเกี่ยวพันกับความเป็นไปในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็เป็นความตั้งใจที่จะแสวงหาการเล่าเรื่องราวแบบใหม่ ๆ นิทรรศการ ERRATA จะพาท่านสำรวจคำถามว่าด้วยประวัติศาสตร์อันสลับซับซ้อนภายใต้กระบวนการสร้างชาติ การสร้างเอกลักษณ์ และการก่อร่างสร้างตัวตน ประเด็นเหล่านี้ต่างสะท้อนผ่านผลงานศิลปะและประวัติศาสตร์นิทรรศการที่ผลงานเหล่านี้เคยร่วมแสดง

โดยทั่วไป “ERRATA” คือแผ่นกระดาษหรือใบแนบที่แทรกตัวอยู่ในหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อบ่งชี้ถึงข้อผิดพลาดหรือการแก้ไขข้อความที่เขียนในหนังสือหรือสิ่งพิมพ์นั้นๆ

“ERRATA” ในบริบทของนิทรรศการนี้เปรียบเสมือนการอุปมาถึงชุดงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยมที่พยายามแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนระหว่างประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยของไทยทั้งนี้มิใช่เพียงแค่การแก้ไขข้อผิดพลาดและวิพากษ์วิจารณ์การเล่าเรื่องตามกระแสหลักของประวัติศาสตร์ศิลปะที่เป็นศูนย์กลางของชาติเพียงเท่านั้นหากแต่เป็นการเสนอมุมมองทางเลือกในการเล่าผ่านเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพื่อโต้แย้งและกวดขันข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นจากบริบททางสังคมและภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

มากไปกว่านั้นนิทรรศการนี้ยังติดตามความเป็นมาของการจัดนิทรรศการ ความเคลื่อนไหวทางศิลปะและการรวมกลุ่มต่าง ๆ ของศิลปิน  ทั้งในภูมิภาคและที่อื่น ๆ โดยหยิบยกการเล่าเรื่องที่ขัดแย้งกัน การโต้เถียง และประวัติศาสตร์ของเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากยุคอาณานิคมอำพรางมาจนถึงเรื่องราวทางการเมืองในยุคสงครามเย็น กล่าวได้ว่านิทรรศการนี้ใช้มุมมองที่ตั้งอยู่ ณ จุดบรรจบของมุมมองในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทั้งทางด้านศิลปะและด้านประวัติศาสตร์ โดยนำเสนอผ่านผลงานศิลปะที่เกี่ยวพันกับเรื่องเล่าขนาดเล็ก ตั้งแต่ศิลปะการแสดงสด งานศิลปะในรูปแบบสื่อต่าง ๆ และงานศิลปะจากอีกหลากหลายแขนง โดยเฉพาะผลงานจากศิลปินหญิงที่ใช้ร่างกายและกล้องถ่ายภาพเพื่อสร้างสรรค์และรวบรวมประวัติศาสตร์ที่สลับซับซ้อนเอาไว้ด้วยกัน ศิลปินร่วมสมัยจะสามารถทำงานดั่งเช่นนักโบราณคดีในการขุดค้นประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกบอกเล่านี้ได้อย่างไร ?  พวกเขาจะพาเราย้อนกลับไปสำรวจความทรงจำร่วมของมวลชนและ บอกเล่ามันใหม่ในรูปแบบใด ? รวมไปถึงการที่ศิลปะการแสดงสดถูกยึดครองพื้นที่โดยนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่เพื่อแสดงออกถึงอุดมการณ์ต่อความต้านทานทางการเมืองและอารยะขัดขืนทางสังคมบนท้องถนนในปัจจุบันได้อย่างไร?

การกลับมาสำรวจชุดงานสะสมของพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในการจัดทำนิทรรศการชุดนี้ พิพิธภัณฑ์พันธมิตรทั้งหมดได้มีส่วนร่วมผ่านบทสนทนา การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือเพื่อฉลองวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีของศิลปิน โจเซฟ บอยส์ (Joseph Beuys) เนื่องจากประติมากรรมทางสังคมของเขาเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินมากมายที่อยู่ในชุดผลงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ทั้งยังส่งอิทธิพลให้กับเทศกาลศิลปะเชียงใหม่จัดวางสังคม เทศกาลศิลปะที่ริเริ่มโดยศิลปินเพื่อเชื่อมต่อแวดวงศิลปะระดับท้องถิ่นเข้ากับศิลปะการแสดงสดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงศิลปะแขนงอื่น ๆ ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ ๑๙๙๐ นอกเหนือจากนี้ในช่วงสุดท้ายของการจัดแสดงนิทรรศการ ERRATA จะมีการจัดกิจกรรมสัปดาห์ร่วมทุกข์ขึ้นใหม่อีกครั้ง นำโดย มิตร ใจอินทร์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเชียงใหม่จัดวางสังคม

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสาธารณะที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือจากพิพิธภัณฑ์พันธมิตร ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมทั้งทางออนไลน์และที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยมตลอดระยะเวลาการจัดนิทรรศการ 

กิจกรรมสาธารณะ:

วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.. ๒๕๖๔ เวลา ๑๗.๐๐ น. (ตามเวลากรุงเทพฯ/จาการ์ตา)

The ‘Body’ is not just flesh

วงสนทนาร่วมด้วย อาราไมอานี (ยอกยาการ์ตา) กวิตา วัฒนะชยังกูร (กรุงเทพฯ) และ สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา (เชียงใหม่) ดำเนินรายการโดย โซอี้ บัต (โฮจิมินห์) และดูแลการจัดรายการโดย กฤติยา กาวีวงศ์ (กรุงเทพฯ)

กิจกรรมไลฟ์สดบนช่องยูทูบของสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย

คำว่าร่างกายมีความหมายมากกว่าเพียงเนื้อหนัง ในบริบททางศิลปะ โดยเฉพาะผลงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้หญิง บ่อยครั้งคำว่าร่างกายมักถูกผลักให้เป็นเพียงแค่ประเด็นเรื่องเพศและชีววิทยามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าหัวข้อดังกล่าวจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ศิลปินทั้งสามท่านที่จะมาร่วมสนทนาในครั้งนี้ต่างมีคำถามลุ่มลึกเกี่ยวกับหลากหลายมิติมุมมองที่มีต่อร่างกาย ทั้งในเชิงอภิปรัชญา การเมือง หรือภูมิศาสตร์ เปรียบเสมือนการได้สำรวจจิตวิญญาณ รวมถึงความเที่ยงธรรมและภูมิทัศน์ตามธรรมชาติของโลก วิธีคิดของศิลปินทั้งสามท่านนี้ต่อองคาพยพแห่งความรู้จะถูกแบ่งปันด้วยแง่มุมอันเป็นเอกลักษณ์โดยเน้นที่ประสบการณ์ส่วนตนและเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดคำถามทั้งในเชิงจินตภาพและเชิงวิพากษ์ซึ่งส่งผลต่อมาให้เกิดผลงานศิลปะการแสดงสดศิลปะจัดวางประติมากรรมและภาพยนตร์

หมายเหตุ: เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด๑๙ การจัดโปรแกรมต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงโปรดติดตามการอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์และเฟสบุ๊คของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม

SPONSORS-01

Past Exhibition

Cold War: the mysterious

A solo exhibition by Thasnai Sethaseree Exhibition period: 12th March 2022 – 14th February 2023 Opening reception: 12th March 2022 | 6.30 – 8.00 PM MAIIAM Contemporary Art Museum, Chiang Mai, Thailand MAIIAM Contemporary Art Museum is pleased to present Cold War: the mysterious, the first-ever large-scale solo exhibition in Chiang Mai by contemporary artist, […]

Past Exhibition

The Hunters

A ‘Pollination’ project

Featuring artists Maryanto (Yogyakarta) and Ruangsak Anuwatwimon (Bangkok)
Curated by ‘Pollination’ curators LIR (Yogyakarta) and Kittima Chareeprasit (Chiang Mai)
Organized by: The Factory Contemporary Arts Centre, Ho Chi Minh City
Co-sponsored by SAM Art & Ecology Fund and MAIIAM Contemporary Art Museum
With thanks to this edition’s curatorial advisors: Agung Jennong and Vipash Puranichanayanont